วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

มีทฤษฎีอะไรบ้างที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ และแต่ละทฤษฎีเป็นอย่างไร


(http://www.st.acth/av/leam ttheo.htm) ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการเรียนรู้มีดังนี้
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bloom (Bloom’s Taxonomy)Bloom ได้เบ่งการเรียนรู้เป็น 6 ระดับ คือ
ความรู้ที่เกิดจากการทำ (knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด
ความเข้าใจ (comprehend)
การประยุกต์ (Application)
การวิเคราะห์ (Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้
การสังเคราะห์ (Synthesis) สามารถนำส่วนต่างๆมาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ให้แตกต่างจากรูปเดิม เน้นโครงสร้างใหม่
การประเมินค่า (Evaluation) วัดได้ และตัดสินได้ว่าอะไรถูกหรือผิด ประกอบการตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผลและเกณฑ์ที่แน่ชัด
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของเมเยอร์ (Mayor)
ในการออกแบบสื่อการเรียนการสอน การวิเคราะห์จำเป็น เป็นสิ่งสำคัญ และตามด้วยจุดประสงค์ของการเรียนโดยแบ่งออกเป็นย่อยๆ 3 ส่วนด้วยกัน คือ
พฤติกรรม ควรชี้ชัดและสังเกตได้
เงื่อนไข พฤติกรรมสำเร็จได้ควรมีเงื่อนไขในการช่วยเหลือ
มาตรฐาน พฤติกรรมที่ได้นั้นสามารถอยู่ในเกณ์ที่กำหนด
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบรูเนอร์ (Bruner)
ความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมโดยประสบการณ์
ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน
ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่างๆ
ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง
เนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวม



การเรียนรู้ตามทฤษฎีของไทเลอร์ (Tylor)

ความต่อเนื่อง (continuity) หมายถึง ในวิชาทักษะ ต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรม และประสบการณ์บ่อยๆและต่อเนื่องกัน

การจัดช่วงลำดับ (sequence) หมายถึง การจัดสิ่งที่มีความง่ายไปสู่สิ่งที่มีความยาก ดังนั้นการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ จึงควรให้มีการเลียงลำดับก่อนหลัง เพื่อให้ได้เรียนเนื้อหาให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

บูรณาการ (integration) หมายถึง การจัดประสบการณ์ควรเป็นในลักษณะที่ช่วยให้ผุ้เรียนได้เพิ่มพุนความคิดเห็น และได้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน เนื้อหาที่เรียนเป็นการเพิ่มความสามารถทั้งหมดของผู้เรียนที่จะได้ใช้ประสบการณ์ได้ในสถานการณ์ต่างๆกัน ประสบการณ์การเรียนรู้จึงเป็นแบบแผนของปฏิสัมพันธ์ (interaction) ระหว่างผู้เรียนกับสถานการณ์ที่แวดล้อม


ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ของกาเย่ (Gagne)

การจูงใจ (Motivation phase) การคาดหวังของนักเรียนเป็นแรงจูงใจในการเรียนรู้

การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending phase) ผู้เรียนจะรับรู้สิ่งที่สอดคล้องกับความตั้งใจ

การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ (acquisition phase) เพื่อให้เกิดความจำระยะสั่นและระยะยาว

ความสามารถในการจำ (Retention phase)

ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (Recall phase)

การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว (Generalization phase)

การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ (Performance phase)

การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน (Feedback phase) ผู้เรียนได้รับทราบผลเร็วจะทำให้มีผลดีและประสิทฺภาพสูง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น