วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง

รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง




กิดานันท์ มลิทอง (2540 : 285) ได้กล่าวเกี่ยวกับรูปแบบของสื่อหลายมิติไว้ว่ามีรูปแบบต่างๆดังนี้

การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (CAI)

แผ่นวีดีทัศน์ชิงโต้ตอบ

กานสอนบนเว็บ (web-based Instruction )

ความเป็นจริงเสมือน

ปัญญาประดิษฐ์และระบบผู้เชี่ยวชาญ





บรรณานุกรม

กิดานันท์ มลิทอง เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม 2543

พิมพ์ครั้งที่ 2 จุฬา; กรุงเทพฯ
สื่อประสม คืออะไร


กิดานันท์ มลิทอง (2540 : 267) ได้กล่าวเกี่ยวกับสื่อประสม หมายถึง การนำสื่อหลายๆ ประเภทมาใช้รวมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน โดยการใช้สื่อแต่ละอย่างตามลำดับขั้นตอนของเนื้อหา และในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมด้วยเพื่อการผลิตหรือการผลิตการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆในการเสนอข้อมูลทั้งตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดีทัศ และเสียง



(http://www.sahavicha.com ) สื่อประสม หมายถึง การนำเอาสื่อหลายๆประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอนโดยใช้สื่อแต่ละอย่างตามลำดับขั้นตอนของเนื้อหา และในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมด้วยเพื่อการพลิกหรือการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในกานเสนอข้อมูลทั้งตัวอักษร ถาพกราฟิก ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว วีดีทัศ และเสียง
สื่อการสอน คืออะไร


สมบูรณ์ สงวนญาติ (2534 : 43-44) สื่อการสอน หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้สอนและผู้เรียนนำมาใช้ในการเรียนการสอนดำเนินไปสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ วัตถุสิ่งของที่มีอยู่ในธรรมชาติ หรือมนุษย์สร้างขึ้นมารวมทั้งวิธีการสอนและกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ

ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2520 : 95) สื่อการสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการใช้เป็นสื่อกลางให้ผู้สอนสามารถส่งหรือถ่ายทอดไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทิภาพ

ชอร์ส (http://pinapple-eyes.snru.ac.th/stm/index) หมายถึง เครื่องมือที่ช่วยสื่อความหมายจัดขึ้นโดยครูและนักเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เครื่องมือการสอนทุกชนิดจัดเป็นสื่อการสอน เช่นหนังสือในห้องสมุด โสตทัศนวัสดุต่างๆเช่น โทรทัศน์ วิทยุ สไลด์ และทรัพยากรจากแหล่งชุมชนกล่าวว่าสื่อการสอน

บราวน์ (http://pineapple-eyes.snru.ac.th/stm/index )กล่าวว่า หมายถึง จำพวกอุปกรณ์ทั้งหลายที่สามารถช่วยช่วยเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียนจนเกิดผลการเรียนที่ดี ทั้งนี้รวมถึงกิจกรรมต่างๆที่ไม่เฉพาะแต่สิ่งที่เป็นวัตถุหรือเครื่องมือเท่านั้น เช่น การศึกษานอนกสถานที่ การแสดง บทบาทนาฎการการทดลอง จนการสัมภาษณ์และการสำรวจ เป็นต้น

เปรื่อง กุบุทhttp://pineappleeyes.snru.ac.th/stm/index กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูถึงผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุงหมายที่ครูวางไว้ได้เป็นอย่างดี

สรุป สื่อการสอน หมายถึง ตัวกลางหรือช่องทางถ่ายถอกความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ จากแหล่งความรู้ไปสู้ผู้เรียน และทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีบทบาทในการศึกษามีอะไรบ้าง และแต่ละอย่างเปนอย่างไร

เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีบทบาทในการศึกษามีอะไรบ้าง และแต่ละอย่างเปนอย่างไร


ไพฑูรย์ ศรีฟ้า (2546:ไม่ระบุ) การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการศึกษา เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้หลายอย่างเช่น- อินเตอร์เน็ต (Internet) เพื่อใช้ในการศึกษาหาข้อมูล ข่าวสารทางวิชาการและอื่นๆ จากที่ต่างๆ เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
     - จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail หรือ E – mail ) เพื่อใช้รับส่งข่าวสาร ข้อมูล รูปภาพ และส่งงานให้ครูอาจารย์ตรวจ
     - การจัดทำ website ของสถานศึกษา เพื่อการเผยแผ่ขาวสารของสถานศึกษาเป็นการประชาสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษา กับผู้ที่เกี่ยวข้อง และบุคคลทั่วไป
     - การใช้โปรแกรม spss เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูอาจารย์ การทำวิจัยสถาบันของฝ่ายบริหาร และอื่นๆ
     - การทำ power point เพื่อใช้ในการเรียนการสอนของครูอาจารย์ และใช้เสนอผลงานของผู้บริหารสถานศึกษา
     - คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) หรือ CAI เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองจากบทเรียนสำเร็จรูปในคอมพิวเตอร์
     - การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Learning) หรือที่เรียกกันว่า E – learning เป็นการเรียนทางไกลที่ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับผู้สอนได้ โดยอาศัยเครือค่ายอินเตอร์เน็ต จึงช่วยให้เรียนรู้ได้โดยไม่มีขอจำกัดของเวลา ระยะทาง และสถานที่ โดยผู้เรียนจะสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลาจึงตอบสนองศักยภาพ การเรียนรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
     - ห้องเรียนอัจฉริยะ (Electonic Ciaaroom หรือ E-Classroom) เป็นการจัดระบบบริหารจัดการห้องเรียน ที่ใช้การเรียนการสอนแบบ on-line และปฏิสัมพันธ์ สามารถควบคุมและตรวจสอบกิจกรรมของนักเรียนได้โดยตรงจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของครู แบบ real time
     - หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) และ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (E-Library) เพื่อเสริม การเรียนการสอน และให้บริการค้นคว้าความรู้แก่นักเรียน ครูอาจารย์ และประชาชน

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ “ICT” (Information and Communication Technologies) เพื่อพัฒนาการศึกษา ปัจจุบันประเทศไทยโยกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายสำคัญที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ เพื่อพัฒนาการสื่อสารในทุกด้าน โดยเฉพาะการช่วยพัฒนาการครูอาจารย์ การช่วยให้เด็ดและเยาวชนได้เข้าถึงแหล่งความรู้และได้เรียนอย่างทัดเทียมกัน ตลอดจนการพัฒนาระบบบริหารจัดการให้ฉับไวมีประสิทธิภาพสูงสุด


บรรณานุกรม

http://th.wikipedia.org/wiki/
เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงอะไร


(http://www.chakkham.ac.th ) เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จักการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การแสดงผลลัพธ์ การทำสำเนาและการสื่อสารโทรคมนาคมเพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมและสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

(http://learners.in.th/blog/nsrug ) เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์ และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น

ไพฑูรย์ ศรีฟ้า (2546:ไม่ระบุ) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศไว้ว่า หมายถึง เทคโนโลยีทำนำมาใช้ในการจัดเก็บข้อมูล (Data) และประมวลผลข้อมูลให้เกิดผลผลลัพธ์เป็นสารสนเทศ (Information) เพื่อนำไปใช้ประโยชน์

สรุป เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำวิชาการที่ก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร มาสร้ามูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น
 เทคโนโลยี หมายถึงอะไร


พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2539 : 406) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยี คือวิทยากรเกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม

ผดุงยศ ดวงมาลา (2523 : 16) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยี คือ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆทางอุตสาหกรรม ถ้าในแง่ของความรู้ เทคโนโลยีจะหมายถึงความรู้หรือศาสตร์เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรม แลกิจกรรมอื่นๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรืออาจสรุปว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่างๆให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม

ลิปปนนท์ เกตุทัศ (ม.ป.ป 81) เทคโนโลยี คือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่นๆมาผสมผสานประยุกต์เพื่อสนองเป้าหมายเฉพาะตามความต้องการของมนุษย์ด้วยการนำทรัพยากรต่างๆมาใช้ในการผลิต และจำหน่ายให้ต่อเนื่อง ตลอดทั้งกระบวนการ เทคโนโลยีจึงมักมีคุณประโยชน์และเหมาะสมเฉพาะเวลาและสถานที่และหากเทคโนโลยีนั้นจะเกื้อกูลเป็นประโยชน์ทั้งต่อบุคคลและส่วนรวม หากไม่สอดคล้องเทคโนโลยีนั้นๆ จะก่อให้เกิดปัญหาตามมามหาศาล

ชำนาญ เชาวกีรติพงษ์ (2534 : 5) เทคโนโลยี คือ วิชาที่ว่าด้วยการประกอบวัตถุเป็นอุตสาหกรรม หรือวิชาอุตสาหกรรม หรือการนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ในทางปฏิบัติ

ธรรมนูญ โรจนะบุรานนท์ (2531:170) กล่าวว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้วิชาการรวมกับความรู้วิชาการ และความชำนาญที่สามารถนำไปปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพสูงโดยปกติเทคโนโลยีนั้น มีความรู้วิทยาศาสตร์รวมอยู่ด้วย นั้นคือวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ เทคโนโลยีเป็นการนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติ จึงมักนิยมใช้สองคำด้วนกัน คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเน้นให้เข้าใจว่า ทั้งสองอย่างนี้ต้องควบคู่กันไป จึงจะมีประสิทธิภาพสูง

เย็นใจ เลาหวณิช (2530:97) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงกล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีเป็นภาษาง่ายๆว่า หมายถึง การรู้จักนำมาทำให้เกิดประโยชน์

สมบูรณ์ สงวนญาติ (2534:16) ได้กล่าวเกี่ยวกับ เทคโนโลยี ไว้ว่าเทคโนโลยีหมายถึงการนำเอาความรู้ทางศาสตร์สาขาต่างๆมาประยุกต์ให้เกิดระบบที่ดี ซึ่งสามารถนำเอาไปใช้แก้ปัญหาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

(http://leamers.in.th/blog/nsrug ) เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์


สรุป
เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่นำเอาวิทยาการทางวิทยาศาสตร์ และศาสตร์อื่นๆ มาประยุกต์ใช้ตามความต้องการของมนุษย์

นวัตกรรมทางการศึกษา คืออะไร

นวัตกรรมทางการศึกษา คืออะไร


( http://tikkatar.is.in.th ) นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง เครื่องมือ สื่อแนวคิด วิธีการ กระบวนการ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่นำมาใช้แก้ปัญหา เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตรงตามเป้าหมายของหลักสูตร

(http://www.namonpit.ac.th/file/ei.pdf ) นวัตกรรมทางการศึกษา คือ การปรับประยุกต์ ความคิดใหม่ วิธีการใหม่ รูปแบบใหม่ เทคนิคใหม่ แนวทางใหม่ ที่สร้างสรรค์และพัฒนาจากการต่อยอดภูมิปัญญาเดิม หรือจาการคิดค้นข้นมาใหม่ให้เกิดสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาในระบบการศึกษา นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

สมบูรณ์ สงวนญาติ (2534:14) ได้กล่าวเกี่ยวกับ นวัตกรรมทางการศึกษาไว้ว่านวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ๆในทางการศึกษา ซึ่งแปลกไปจากเดิมโดยอาจได้มาจากการค้นพบวิธีการใหม่ๆ หรือปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมโดยได้มีการทดลองพัฒนาจนเป็นที่น่าเชื่อถือได้ว่า มีผลดีในทางปฏิบัติ และสามารถทำให้ระบบทางการศึกษาดำเนินไปสู่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดวงเดือน เทศวานิช (ไม่ระบุ : 169) นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง การนำเทคนิคหรือวิธีการใหม่ๆ มาใช้ปรับปรุงหรือเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนการสอน



สรุป นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว เกิดแรงจูงใจในการเรียน
 นวัตกรรม คืออะไร


(http://joomla.ru.ac.ch/mbainnovalion/index.) นวัตกรรม คือ ความคิดการปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆที่ยังไม่เคยมีมาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัย และใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดี มีประสิทธิภาพสุงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลา และแรงงานได้ด้วย

(http://tikkatar.is.in.th ) นวัตกรรม คือ เครื่องมือ สื่อ หรือวีการใหม่ๆที่นำมาพัฒนาการเรียนรู้ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในทางที่ดีมีคุณภาพ และเกิดประสิทธิภาพสูงขึ้น ไม่ว่าสื่อหรือวิธีการนั้น จะคิดขึ้นใหม่หรือดัดแปลงปรับปรุงมาจากของเดิม หรือเคยใช้ได้ผลดีมาแล้วจากที่อื่น และนำมาใช้อีก

( http://team.sko.moph.go.th ) นวัตกรรม หมายถึง การทำสิ่งต่างๆด้วยวิธีการใหม่ๆและยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิตกระบวนการ หรือองค์กรไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ การเปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน หรือการพัฒนาต่อยอด

สมบูรณ์ สงวนญาติ ( 2534 : 14 ) ไดกล่าวเกี่ยวกับ นวัตกรรม ไว้ว่า นวัตกรรม หมายถึง การกระทำหรือความคิดใหม่ๆ ที่นำมาใช้แก้ปัญหาในการปฏิบัติงานด้านตางๆ



สรุป นวัตกรรม หมายถึง ความคิด การปฏิบัติ หรืสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้นเมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นมีผลดี และมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิมทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
มีทฤษฎีอะไรบ้างที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ และแต่ละทฤษฎีเป็นอย่างไร


(http://www.st.acth/av/leam ttheo.htm) ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการเรียนรู้มีดังนี้
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bloom (Bloom’s Taxonomy)Bloom ได้เบ่งการเรียนรู้เป็น 6 ระดับ คือ
ความรู้ที่เกิดจากการทำ (knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด
ความเข้าใจ (comprehend)
การประยุกต์ (Application)
การวิเคราะห์ (Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้
การสังเคราะห์ (Synthesis) สามารถนำส่วนต่างๆมาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ให้แตกต่างจากรูปเดิม เน้นโครงสร้างใหม่
การประเมินค่า (Evaluation) วัดได้ และตัดสินได้ว่าอะไรถูกหรือผิด ประกอบการตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผลและเกณฑ์ที่แน่ชัด
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของเมเยอร์ (Mayor)
ในการออกแบบสื่อการเรียนการสอน การวิเคราะห์จำเป็น เป็นสิ่งสำคัญ และตามด้วยจุดประสงค์ของการเรียนโดยแบ่งออกเป็นย่อยๆ 3 ส่วนด้วยกัน คือ
พฤติกรรม ควรชี้ชัดและสังเกตได้
เงื่อนไข พฤติกรรมสำเร็จได้ควรมีเงื่อนไขในการช่วยเหลือ
มาตรฐาน พฤติกรรมที่ได้นั้นสามารถอยู่ในเกณ์ที่กำหนด
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบรูเนอร์ (Bruner)
ความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมโดยประสบการณ์
ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน
ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่างๆ
ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง
เนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวม



การเรียนรู้ตามทฤษฎีของไทเลอร์ (Tylor)

ความต่อเนื่อง (continuity) หมายถึง ในวิชาทักษะ ต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรม และประสบการณ์บ่อยๆและต่อเนื่องกัน

การจัดช่วงลำดับ (sequence) หมายถึง การจัดสิ่งที่มีความง่ายไปสู่สิ่งที่มีความยาก ดังนั้นการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ จึงควรให้มีการเลียงลำดับก่อนหลัง เพื่อให้ได้เรียนเนื้อหาให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

บูรณาการ (integration) หมายถึง การจัดประสบการณ์ควรเป็นในลักษณะที่ช่วยให้ผุ้เรียนได้เพิ่มพุนความคิดเห็น และได้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน เนื้อหาที่เรียนเป็นการเพิ่มความสามารถทั้งหมดของผู้เรียนที่จะได้ใช้ประสบการณ์ได้ในสถานการณ์ต่างๆกัน ประสบการณ์การเรียนรู้จึงเป็นแบบแผนของปฏิสัมพันธ์ (interaction) ระหว่างผู้เรียนกับสถานการณ์ที่แวดล้อม


ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ของกาเย่ (Gagne)

การจูงใจ (Motivation phase) การคาดหวังของนักเรียนเป็นแรงจูงใจในการเรียนรู้

การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending phase) ผู้เรียนจะรับรู้สิ่งที่สอดคล้องกับความตั้งใจ

การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ (acquisition phase) เพื่อให้เกิดความจำระยะสั่นและระยะยาว

ความสามารถในการจำ (Retention phase)

ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (Recall phase)

การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว (Generalization phase)

การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ (Performance phase)

การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน (Feedback phase) ผู้เรียนได้รับทราบผลเร็วจะทำให้มีผลดีและประสิทฺภาพสูง